Self-protection
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
Seated to one side, King Pasenadi said to the Buddha, “Just now, sir, as I was in private retreat this thought came to mind. ‘Who are those who protect themselves? And who are those who don’t protect themselves?’
Then it occurred to me: ‘Those who do bad things by way of body, speech, and mind don’t protect themselves. Even if they’re protected by a company of elephants, cavalry, chariots, or infantry, they still don’t protect themselves. Why is that? Because such protection is exterior, not interior. That’s why they don’t protect themselves.
Those who do good things by way of body, speech, and mind do protect themselves. Even if they’re not protected by a company of elephants, cavalry, chariots, or infantry, they still protect themselves. Why is that? Because such protection is interior, not exterior. That’s why they do protect themselves.’”
“That’s so true, great king! That’s so true!” said the Buddha. And he repeated the king’s statement, adding:
“Restraint of the body is good;
restraint of speech is good;
restraint of mind is good;
everywhere, restraint is good.
A sincere person, restrained everywhere,
is said to be ‘protected’.”
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทูลพระพุทธเจ้าว่า ภันเต วันนี้ข้าพระองค์ไปสู่ที่หลีกเร้นพักผ่อนอยู่ ได้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า ชนเหล่าไหนชื่อว่า เป็นผู้รักษาตน ชนเหล่าไหนชื่อว่า เป็นผู้ไม่รักษาตน.
ภันเต ข้าพระองค์จึงได้เกิดความคิดต่อไปว่า ก็ชนเหล่าใดย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ชนเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ไม่รักษาตน ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะมีพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า คอยรักษา แม้เป็นเช่นนั้น ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า เป็นผู้ไม่รักษาตน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่า การรักษาเช่นนั้น เป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ดังนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่รักษาตน ส่วนชนเหล่าใดย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ชนเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้รักษาตน ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะไม่มีพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า คอยรักษา แม้เป็นเช่นนั้น ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า เป็นผู้รักษาตน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเว่า การรักษาเช่นนั้น เป็นการรักษาภายใน มิใช่เป็นการรักษาภายนอก ดังนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้รักษาตน.
นั่นเป็นอย่างนั้นมหาราช นั่นเป็นอย่างนั้นมหาราช มหาราช ก็ชนเหล่าใดย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ชนเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ไม่รักษาตน ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะมีพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า คอยรักษา แม้เป็นเช่นนั้น ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า เป็นผู้ไม่รักษาตน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่า การรักษาเช่นนั้น เป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ดังนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่รักษาตน มหาราช ส่วนชนเหล่าใดย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ชนเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้รักษาตน ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะไม่มีพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า คอยรักษา แม้เป็นเช่นนั้น ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า รักษาตน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่า การรักษาเช่นนั้น เป็นการรักษาภายใน มิใช่เป็นการรักษาภายนอก ดังนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้รักษาตน.
การสำรวมด้วยกายเป็นการดี
การสำรวมด้วยวาจาเป็นการดี
การสำรวมด้วยใจเป็นการดี
การสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นการดี.
บุคคลสำรวมในที่ทั้งปวงแล้ว
มีความละอายต่อบาป
เรากล่าวว่าเป็นผู้รักษาตน.
-บาลี สคาถ. สํ. 15/104/337.
https://84000.org/tipitaka/pali/?15//104,
https://etipitaka.com/read/pali/11/104