14ม.ค.
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่จะไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาสัตว์เหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งบรรดามี กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด... read more
11มิ.ย.
ขึ้นชื่อว่าความลับไม่มีในโลก สำหรับผู้ทำไว้
แน่ะบุรุษ จริงหรือเท็จ ตัวของท่านเองย่อมจะรู้
แน่ะผู้เจริญ ท่านสามารถที่จะทำความดีได้หนอ
แต่ท่านกลับดูหมิ่นตนเองเสีย และยังปกปิดความชั่วซึ่งมีอยู่ในตน.
เทวดาและตถาคตย่อมมองเห็นท่าน
ผู้ซึ่งเป็นคนพาล ประพฤติไม่สม่ำเสมอ.
เพราะฉะนั้นแหละ คนที่มีตนเป็นใหญ่ ควรมีสติเที่ยวไป
คนที่มีโลกเป็นใหญ่ ควรมีปัญญาและเพ่งพินิจ
ส่วนคนที่มีธรรมเป็นใหญ่ ควรประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม.
มุนีผู้มีความบากบั่นอย่างจริงจัง ย่อมจะไม่เสื่อม
อนึ่ง... read more
02ม.ค.
หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี... read more
03มี.ค.
… ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุหวังว่า ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกันทั้งหลายเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมอันเป็นเครื่องสงบแห่งใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา... read more
11ต.ค.
สัปบุรุษทั้งหลาย กล่าววาจาสุภาษิตว่าเป็นวาจาสูงสุด.
บุคคลพึงกล่าววาจาที่เป็นธรรม ไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม นี้เป็นข้อที่ ๒.
พึงกล่าววาจาอันเป็นที่รัก ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก นี้เป็นข้อที่ ๓.
พึงกล่าววาจาที่เป็นจริง ไม่พึงกล่าววาจาที่เป็นเท็จ นี้เป็นข้อที่ ๔.”
-บาลี สํ.... read more
06ต.ค.
ในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใด ๆ เลย ที่เมื่อเรายึดถืออยู่ เราจักเป็นผู้หาโทษมิได้ …
มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ... read more
03ต.ค.
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีสังคาหกเทพบุตร ได้ทูลถามท้าวสักกะจอมเทพ (พระอินทร์) ด้วยคาถาว่า
“พราหมณ์ทั้งหลายผู้บรรลุไตรวิชชา กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาคทั้งหมด ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และเทวดาชั้นดาวดึงส์ผู้มียศ... read more
14ต.ค.
ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนัก
บุคคลนั่นแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป
การแบกถือของหนัก เป็นความทุกข์ในโลก
การปลงภาระหนักลงได้เป็นความสุข.
บุคคลที่ปลงภาระหนักลงได้แล้ว
ทั้งไม่หยิบอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก
ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้พร้อมทั้งราก
เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิทแล้ว ดังนี้.
- บาลี ขนฺธ. สํ. 17/2/53.
read more
01เม.ย.
คนเรา เมื่อมีการอยู่ร่วมกันกับคนที่สะอาด หรือคนที่ไม่สะอาดก็ตาม ต้องมีสติกำกับอยู่ด้วยเสมอ แต่นั้นพึงสามัคคีต่อกัน มีปัญญาทำที่สุดทุกข์แห่งตนเถิด.” read more
20ก.พ.
ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้พ่ายแพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ ผู้ละความชนะและความพ่ายแพ้ได้แล้ว ย่อมมีใจสงบ จึงนอนเป็นสุข."
-บาลี สํ. สคาถ, 15/122/371.
read more