ผู้เป็นธรรมกถึก และผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (๑)
ภันเต ที่กล่าวกันว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุธรรมกถึก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นธรรมกถึก.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชาติ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชาติ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นชาติ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งภพ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งภพ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นภพ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นอุปาทาน ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นตัณหา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นเวทนา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นผัสสะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นสฬายตนะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นนามรูป ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความไม่เหลือแห่งดับวิญญาณ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นวิญญาณ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสังขารทั้งหลาย ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งสังขารทั้งหลาย ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นสังขารทั้งหลาย ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ภิกษุ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะไม่ยึดมั่นอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
-บาลี นิทาน. สํ. 16/22/46.
https://84000.org/tipitaka/pali/?16//22,
https://etipitaka.com/read/pali/16/22
English translation by Bhikkhu Sujato
“If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment, dispassion, and cessation regarding old age and death, they’re qualified to be called a ‘mendicant who speaks on Dhamma’. If they practice for disillusionment, dispassion, and cessation regarding old age and death, they’re qualified to be called a ‘mendicant who practices in line with the teaching’. If they’re freed by not grasping, by disillusionment, dispassion, and cessation regarding old age and death, they’re qualified to be called a ‘mendicant who has attained extinguishment in this very life’.
If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment regarding rebirth …
If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment regarding rebirth continued existence …
If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment regarding rebirth grasping …
If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment regarding rebirth craving …
If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment regarding rebirth feeling …
If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment regarding rebirth contact …
If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment regarding rebirth the six sense fields …
If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment regarding rebirth name and form …
If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment regarding rebirth consciousness …
If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment regarding rebirth choices …
If a mendicant teaches Dhamma for disillusionment, dispassion, and cessation regarding ignorance, they’re qualified to be called a ‘mendicant who speaks on Dhamma’. If they practice for disillusionment, dispassion, and cessation regarding ignorance, they’re qualified to be called a ‘mendicant who practices in line with the teaching’. If they’re freed by not grasping, by disillusionment, dispassion, and cessation regarding ignorance, they’re qualified to be called a ‘mendicant who has attained extinguishment in this very life’.”